top of page

ผู้ที่นำยางพาราเข้ามาในประเทศไทย

      ความคิดที่จะนำยางพาราเข้ามาปลูกในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ พระยารัษฏานุประดิษฐ์มหิศภักดีเดินทางไปดูงานในประเทศ-มลายู เห็นชาวมลายูปลูกยางกันมีผลมีมาก ก็เกิดความสนใจที่จะนำยางเข้ามาปลูกในประเทศไทยบ้าง แต่พันธุ์ยางสมัยนั่น ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของสวนยาง หวงมาก ทำให้ไม่สามารถนำพันธุ์ยางกลับมาได้ จนกระทั่ง พ.ศ.2444 พระสกล สถานพิทักษ์ เดินทางไปที่ประเทศอินโดนีเซีย จึงมีโอกาสนำกล้ากลับมา ห้มรากด้วยสำลีชุบบนน้ำ แล้วหุ้มทับด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์อีกชั้นหนึ่ง จึงบรรจุลงลังไม้ ใส่เรือกลไฟ ซึ่งเป็นเรือส่วนตัวของพระสกลฯ รีบเดินทางกลับไทยทันทียางที่นำมาครั้งนี้มี 4 ลัง ด้วยกัน พระสกลฯได้นำมาปลูกไว้ที่บริเวณหน้าบ้านพักที่อำเภอกันตัง จ.ตรัง ซึ่งปัจจุบันนี้ยังเหลือให้เห็นเป็นหลักฐานเพียงต้นเดียว อยู่บริเวณหน้าสหกรณ์การเกษตรกันตัง และจากยางรุ่นแรกนี้ พระสกลฯได้ขยายเนื้อที่ปลูกประมาณ 45 ไร่ นับได้ว่า พระสกลฯ คือ ผู้เป็นเจ้าของสวนยางพาราคนแรกของประเทศไทย จากนั้น พระยารัษฏาฯ ได้ส่งคนไปเรียกวิธีปลูกยางพาราเพื่อมาสอนประชาชนนักเรียนของท่านที่ส่งไปก็ล้วนแต่เป็นเจ้าเมือง นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านนำพันธุ์ยางพาราไปแจกจ่าย และส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกทั่วไป ซึ่งในยุคนั้นอาจกล่าวว่ายุคตื่นยางและชาวบ้านเรียกยางพารานี้ว่า "ยางเทศา" ขณะนี้มีการปลูกยางพาราไปทั่วทั้งภาคใต้และภาคตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 9 ล้านไร่ มีผู้ถือครองประมาณ 5 แสนครอบครัวและจัดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ รองลงมาจากข้าว ทำรายได้ให้กับประเทศปีละนับหมื่อนล้านบาท พระยารัษฏาฯ ได้รับการยกย่องและให้เกียรติเป็นบิดาแห่งยางพาราไทยด้วยเหตุนี้
bottom of page